วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

โครงงานอาชีพ การทำข้าวต้มมัด - Presentation Transcript

  1. โครงงานอาชีพการแปรรูอาหารจากกล้วย
    การทำข้าวต้มมัด
    โดย...
    นางรัศมีแข แสนมาโนช
  2. สาระสำคัญ
    ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด ข้าวต้มกล้วย ทั้งสามชื่อนี้ คืออาหารหวานอย่างเดียวกัน แต่ชื่อที่เรียกอาจจะแล้วแต่ท้องถิ่นที่ตั้งคำจำกัดความ และส่วนผสม ของเจ้าของขนม ที่ทำด้วยข้าวเหนียวห่อด้วยใบตองแล้วมัด
  3. จุดประสงค์การเรียนรู้
    1
    1. บอกวัสดุการทำข้าวต้มมัดได้
    2
    2. บอกอุปกรณ์สำหรับการทำข้าวต้มมัดได้
    4
    3
    3. อธิบายขั้นตอนการจัดทำข้าวต้มมัดได้ถูกต้อง
    4. จัดทำข้าวต้มมัดไว้รับประทานและจำหน่ายได้ด้วยตนเอง
  4. แบบทดสอบก่อนเรียน
    คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
    ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
    01
    1
    1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
    ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
    ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
    ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
    ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • แบบทดสอบก่อนเรียน
      02
      1
      2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
      ก. ข้าวเจ้า
      ข. ข้าวเหนียว
      ค. ข้าวเม่า
      ง. ข้าวสุก
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • แบบทดสอบก่อนเรียน
        03
        1
        3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
        ก. ข้าวสุก
        ข. ข้าวเม่า
        ค. ข้าวเหนียวค้างปี
        ง. ข้าวเจ้าค้างปี
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • แบบทดสอบก่อนเรียน
          04
          1
          4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
          ก. แช่ข้าวก่อน
          ข. ใช้ข้าวสาร
          ค. ตำข้าวก่อน
          ง. นึ่งข้าวก่อน
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • แบบทดสอบก่อนเรียน
            05
            1
            5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
            ก. เนื้อ
            ข. นม
            ค. ไข่
            ง. ถั่ว
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • การทำข้าวต้มมัด
              การทำข้าวต้มมัด
              ข้าวต้มมัด เมื่อเรานำใบตองที่ห่อข้าวต้มจะต้องมีลักษณะพิเศษคือต้องเป็นใบตองกล้วยสวนที่ใบอ่อน ๆ และช่วงสั้น ๆ ต้องนำมาค้างคืนไว้สักคืนให้ใบตองนิ่ม
              ห่อออกมาแล้วจะสวยงามกล้วยที่เอามาทำก็ต้องสุกงอมมาทำเป็นไส้ข้าวต้มมัดเมื่อต้มเสร็จแล้วจะเป็นสีแดงและยังมีไส้อย่างอื่นอีก เช่น เผือก ถั่ว ข้าวที่นำมาห่อทำเป็นข้าวต้มมัดนั้นใช้ข้าวเหนียวไม่ต้องแช่น้ำถ้าเป็นข้าวต้มผัดข้าวเหนียวค้างปีจะต้องใส่กะทิมากหน่อยข้าวจึงจะสุก เมื่อเรานำข้าวเหนียวสดที่เตรียมมาวางลงบนใบตอง
              ที่เตรียมไว้นำกล้วย เผือก ถั่ว มาวางทำเป็นไส้เสร็จแล้วก็ห่อตามวิธีการให้แน่น ข้าวต้มมัดให้เอาห่อข้าวต้ม 2 ห่อมาประกบกันแล้วมัดด้วยเชือกกล้วยแล้วนำไปต้มต่อไป
              ส่วนข้าวต้มผัดเมื่อห่อเสร็จแล้วก็จัดวางเรียงเข้าหม้อนึ่งแล้วนำไปนึ่งต่อไปดังมีนำเสนอและฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้
              75%
            • อุปกรณ์และวัสดุ
              กะละมัง 4. มีดหั่น
              2. ใบตองกล้วย 5. เตาไฟ
              3. ลังถึง 6. กระทะ
              7. ตอกไม้ไผ่ หรือเชือก
            • ส่วนผสม
              ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 3/4 ถ้วยตวง กล้วยน้ำว้า 1 หวี ถั่วดำต้มแล้ว 300 กรัม
              ไส้เผือกกวน เผือกนึ่งแล้วบด 1 กิโลกรัม
              น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
              กะทิข้น ๆ 1 ถ้วยตวง
              ครื่องห่อ ตอก, ใบตอง
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              แช่ข้าวเหนียวในน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงผสมกะทิ เกลือคนให้เข้ากัน ตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำตาลทรายลงกวนให้เข้ากัน จนกระทั่งพอเริ่มแห้ง ยกลงข้าวต้มมัด นำใบตองกล้วย ข้าวเหนียว มาเตรียมห่อ ส่วนข้าวต้มผัด ก็เตรียมผัดข้าวเพื่อจะนำมาห่อ
              01
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              ฉีกใบตอง ขนาด 8 นิ้ว , 7นิ้ว สองขนาด
              วางซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้ว
              ใส่กล้วยผ่าตามยาวครึ่งลูก หรือไส้เผือกกวน
              วางข้าวเหนียวทับไส้ให้มิดบางๆ ใส่ถั่วดำ
              ห่อข้าวต้มให้ สวยงาม มัดด้วยตอกหรือเชือก
              ให้แน่น ประกบคู่มัดเป็นสองช่วงหัวท้าย
              02
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              3. นึ่งข้าวต้มที่ห่อแล้วประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จนข้าวเหนียวสุก ดังภาพ (การทำเผือกกวน ผสมส่วนผสมทั้งหมดรวมกันตั้งไฟกวนจนแห้งปั้นได้ นำไปใส่ไส้
              ข้าวเหนียว)
              03
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              หมายเหตุ
              ข้าวเหนียวจะต้องแช่น้ำไว้สักพักให้ข้าวเหนียวนิ่มต้องลด กะทิลง และ นึ่งในระยะสั้นกว่า ข้าวเหนียวที่ไม่ได้แช่น้ำให้นิ่ม แต่ส่วนใหญ่ ข้าวต้มมัดจะไม่แช่น้ำ แต่บางคน อาจจะมีสูตรที่แตกต่างออกไป
              ก็คงแล้วแต่ท้องถิ่นนั้นๆ ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ทางแถบชาวสวน ชาวเมืองมุกดาหาร จะไม่ค่อยนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำให้นิ่ม เหมือนกับที่เรามูนข้าวเหนียว
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              วิธีผัดข้าว นำกะทิ มาใส่น้ำตาล ใส่เกลือ ชิมรสให้เข้มข้นไว้ แล้วก็คนให้ละลายนำไปตั้งไฟให้เดือด พอกะทิ เดือดปุดๆ (ไม่ใช่เดือดพล่าน) ก็เอาข้าวเหนียวใส่ไป แล้วก็กวนไปไฟอ่อนๆ จนกว่า กะทิ จะแห้ง แล้วก็ยกลงตั้งทิ้งไว้ให้ ข้าวเย็น เสียก่อน ค่อยนำมาห่อ แล้วก็นำไปนึ่ง ให้สุก
            • ข้าวต้มมัดที่เสร็จสมบูรณ์
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              01
              บอกเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              02
              บอกหลักการในการทำข้าวต้มมัดได้ .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              03
              บอกขั้นตอนในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • แบบทดสอบหลังเรียน
              คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
              ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
              01
              1
              1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
              ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
              ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
              ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
              ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • แบบทดสอบหลังเรียน
                02
                1
                2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
                ก. ข้าวเจ้า
                ข. ข้าวเหนียว
                ค. ข้าวเม่า
                ง. ข้าวสุก
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • แบบทดสอบหลังเรียน
                  03
                  1
                  3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
                  ก. ข้าวสุก
                  ข. ข้าวเม่า
                  ค. ข้าวเหนียวค้างปี
                  ง. ข้าวเจ้าค้างปี
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • แบบทดสอบหลังเรียน
                    04
                    1
                    4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
                    ก. แช่ข้าวก่อน
                    ข. ใช้ข้าวสาร
                    ค. ตำข้าวก่อน
                    ง. นึ่งข้าวก่อน
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • แบบทดสอบหลังเรียน
                      05
                      1
                      5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
                      ก. เนื้อ
                      ข. นม
                      ค. ไข่
                      ง. ถั่ว
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • เอกสารอ้างอิง
                        กรมอาชีวศึกษา. หลักการถนอมผลผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2523.
                        วณิชา เพชรสุวรรณ. โครงงานอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, ม.ป.ป.
                        วินิดา ฆารไสว. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร
                        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษา
                        ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.
                        สุเพียร สารลึก. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร และ
                        การแปรรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
                        การศึกษาค้นคว้า อิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • **จัดทำโดย **
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านชาด
                          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
                        • ขอขอบคุณ
                          ผู้อำนวยการ
                          คณะครู และนักเรียน
                          โรงเรียนบ้านชาดทุกคน
                          การทำข้าวต้มมัด
                          จัดทำโดย...
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ

                        โครงงานอาชีพ

                                                                 เรื่อง ความลับของน้ำซาวข้าว
                                  คณะผู้จัดทำ
                             1. นางสาวกรองทอง  ใจแก้วแดง
                             2. นางสาวน้ำหวาน     พยอม
                             3. นางสาวภรณ์ทิพย์   ฮาวกันทะ
                                  อาจารย์ที่ปรึกษา   ม. สนธยา  ใจมั่น
                                  อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ  คุณครู ชนัญญา  ใจมั่น

                                                                    โรงเรียนอรุโณทัย
                                       294 ถนนฉัตรไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100
                                         โทรศัพท์  054-217698  โทรสาร  054-318620

                                                           บทคัดย่อ
                                  การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของเกลือละลายน้ำซาวข้าว กับเกลือละลายน้ำ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2ตอนดังนี้ คือเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำกับเกลือละลายน้ำซาวข้าว โดยเปลี่ยนวัตถุดิบ ซึ่งทำการทดลองอยู่ 3 ครั้ง เพื่อความแน่นอนในผลการทดลอง และในตอนที่ 2 ได้ทดลองเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเกลือที่แตกต่างกันในการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้วกับเกลือละลายน้ำ โดยใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน
                                  ผลจากการทดลองในตอนที่ 1 พบว่าการดองวัตถุดิบในน้ำซาวข้าว คือ ผักกาดแก้ว , แตงกวา , ฝรั่ง มีความเป็นกรดมากกว่าน้ำเกลือ
                                  ผลการทดลองในตอนที่ 2 ได้ใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันคือ ฝรั่ง ดองในเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้สะอาด โดยใช้ปริมาณเกลือที่แตกต่างกันดังนี้ คือ 75 กรัม 65 กรัม 55กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัม พบว่าในการดองที่ใช้เกลือในปริมาณ 45-35 กรัม จะให้ความเป็นกรดได้ดีกว่าเกลือปริมาณอื่น ๆ ซึ่งความเป็นกรดนี้จะช่วยให้วัตถุดิบนั้นมีรสชาดเปรี้ยว และไม่เกิดการเน่าของวัตถุดิบและการใช้เกลือในปริมาณนี้ ช่วยให้น้ำซาวข้าวไม่มีกลิ่นเหม็น

                                                      ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                                  ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ก่อนที่จะนำข้าวไปทำให้สุกได้ จะต้องนำข้าวที่แช่ไว้มารินน้ำออกก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกขั้นตอนนี้ว่า "การซาวข้าว" และน้ำที่ได้จากการซาวข้าวเรียกว่า "น้ำซาวข้าว" และเมื่อได้น้ำซาวข้าวมาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ การล้างผักเพื่อช่วยลดสารเคมีที่ตกค้างในผัก ตลอดจนการหมักดองที่ช่วยในการรักษาสภาพของวัตถุดิบและทำให้วัตถุดิบมีรสเปรี้ยวและจากการที่ได้เห็นการดองฝรั่งของคนในหมู่บ้านจะเติมน้ำซาวข้าวลงไปในไหดองด้วยหลังจากที่ดองเสร็จก็พบว่า ฝรั่งที่ดองมีรสเปรี้ยวขึ้นมาก ข้าพเจ้าจึงนำมาคุยและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า การใส่น้ำซาวข้าวมีผลทำให้ฝรั่งมีรสเปรี้ยวจริงหรือไม่  แล้วจะต้องใช้ปริมาณเกลือเท่าใดจึงจะให้การดองด้วยน้ำซาวข้าวเกิดผลดีที่สุดจากข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นการทำโครงงานนี้ขึ้นมา

                                                    ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า
                                  1. ศึกษาเปรียบเทียบค่าความเป็นกรด-เบส ในการดองระหว่างเกลือละลายน้ำซาวข้าวและเกลือละลายน้ำ
                                  2. ศึกษาความสามารถในการดองโดยใช้เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 0กรัม , 5 กรัม , 15 กรัม ,25 กรัม , 35 กรัม ,45 กรัม ,55 กรัม , 65 กรัม และ 75 กรัม ตามลำดับ
                                  3. ศึกษาการดองโดยใช้วัตถุดิบใน คือ ผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง

                                                             สมมุติฐานของการศึกษา
                                  ตอนที่ 1 วัตถุดิบทุกชนิดที่ดองด้วยน้ำซาวข้าวทิ้งไว้จะให้รสชาดเปรี้ยวกว่าน้ำเกลือ
                                  ตอนที่ 2 ปริมาณของเกลือที่ใช้ในการดอง  ถ้าเกลือลดลงจะมีผลทำให้วัตถุดิบที่ดองมีความเป็นกลางมากขึ้น

                                                                         ตัวแปร
                                  ตัวแปรต้น
                             ตอนที่ 1 : ฝรั่ง แตงกวา ผักกาดแก้ว
                             ตอนที่ 2 : เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 75 กรัม 65 กรัม 55 กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัมตามลำดับ
                                  ตัวแปรตาม  ค่า pH (ความเป็นกรด-เบส) ที่วัดได้ในแต่ละครั้ง
                                  ตัวแปรควบคุม
                             ตอนที่1 : ปริมาณเกลือ ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด
                             ตอนที่ 2 : วัตถุดิบที่ใช้คือ ฝรั่ง ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด

                                                           อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
                             1. วัสดุ
                                  1.1 น้ำสะอาด        1.2 ฝรั่ง                   1.3 น้ำซาวข้าว
                                  1.4 เกลือ              1.5 ผักกาดแก้ว        1.6 แตงกวา
                             2. อุปกรณ์
                                  อุปกรณ์เตรียมวัสดุ 1. ตะกร้า     2. มีด
                                  อุปกรณ์ในการดอง  1.ขวดโหล        2  ใบ
                                                               2. บีกเกอร์ ขนาด 600 มิลลิลิตร     2 ใบ
                                                               3. แท่งแก้วคนสาร
                                                               4. ตาชั่ง
                                                               5. ช้อนตักสาร
                             3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
                                  1. เครื่องวัดค่า pH
                                  2. บีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร
                             4. วิธีการทดลอง 
                                  1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ
                                       1.1 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาล้างให้สะอาด
                                       1.2 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง ที่ล้างแล้วมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง
                                       1.3 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาชั่งเตรียมไว้เป็นส่วน ๆ ละ0.5 กิโลกรัม สังเกตวลักษณะของ ผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง
                                  2. ขั้นตอนการดอง แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
                                       ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่าเกลือละลายในน้ำสะอาด กับน้ำซาวข้าวโดยเปลี่ยนวัตถุดิบ
                                       1. นำผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหล ซึ่งใบที่ 1 และ 2 คือผักกาดแก้ว ใบที่ 3 และ 4 คือแตงกวา ใบที่ 5 และ 6 คือฝรั่ง
                                        2. นำน้ำซาวข้าวมาละลายเกลือ 75 กรัม
                                        3. เทน้ำซาวข้าวในขั้นที่ 2 ลงในขวดโหลใบที่ 1, 3, 5 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน
                                        4. นำน้ำสะอาดมาละลายเกลือ 75 กรัม
                                        5. เทน้ำสะอาดในขั้นที่ 4 ลงในขวดโหลใบที่ 2 , 4 , 6 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน
                                        6. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH ด้วยเครื่องวัด pH แล้วบันทึกผล
                                        7. สังเกตผลที่ได้แล้ววัดค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลแต่ละใบมาบันทึกผลเปรียบเทียบ
                                        ตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นกรด-เบส โดยเปลี่ยนปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม โดยใช้ฝรั่งเป็นตัวควบคุม
                                        1. น้ำซาวข้าว 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
                                        2. น้ำสะอาด 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
                                        3. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 1
                                        4. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 2
                                        5. นำน้ำซาวข้าวที่ละลายเกลือเตรียมไว้มาเทลงในขวดโหลใบที่ 1  ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน
                                        6. นำน้ำสะอาดที่ละลายเกลือเตรียมไว้ในขั้นที่ 1 มาเทลงในขวดโหลใบที่ 2 ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน
                                        7. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH แล้วบันทึกผล
                                        8. สังเกตผลที่ได้ แล้วนำค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลทั้ง 2 ใบ มาเปรียบเทียบผล แล้วบันทึกผล
                                        9. ทำตามวิธีการจากข้อ 1-9 แต่ลดปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม จนไม่ใช้เกลือเลยในการดองครั้งสุดท้าย
                                       10. นำผลที่ได้ในแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบค่า pH เพื่อทดส่อบความเป็นกรด-เบส

                                                                   สรุปผลการทดลอง
                                  จากผลการทดลอง จะสรุปได้ว่า การดองด้วยเกลือละลายบน้ำซาวข้าว จะได้รสชาดเปรี้ยวกว่าการดองด้วยเกลือละลายน้สะอาด โดยไม่ต้องใส่สารเพิ่มรสชาติความเปรี้ยวลงไปในขณะดองอีก ซึ่งแม้เราจะเปลี่ยนวัตถุดิบ จากผักกาดแก้ว เป็น แตงกวาและฝรั่ง ผลที่ได้ น้ำซาวข้าวก็ยังให้ความเปรี้ยวกว่าน้ำสะอาดเสมอ และปริมาณเกลือที่เหมาะสมในการใช้ดองด้วยน้ำซาวข้าวให้เกิดรสชาติเปรี้ยวได้ดีและเหมาะสมที่สุดในวัตถุดิบชนิดเดียวกันก็คือ ปริมาณเกลือ 45-35 กรัม โดยจะให้ค่าความเป็นกรดอยู่ที่ 3.70-3.76 ppm ถือว่าเป็นความเปรี้ยวที่เหมาะสม ซึ่งไม่เปรี้ยวเกินไปหรือจืดเกินไปที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการหมักดองจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ซึ่งถ้าหากเราใส่เกลือมากเกินไปก็จะทำให้แบคทีเรียตายได้ แต่หากเกลือน้อยไปก็จะทำให้แบคทีเรียเหี่ยวดูไม่น่าทานหรืออาจติดเชื้อราได้ ดังนั้นเราจึงต้องหาปริมาณของเกลือที่เหมาะสมต่อการดอง
                                   นอกจากนี้การดองด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้าวยังสามารถรักษาสภาพของวัตถุดิบให้ดูเต่งตึงไม่เหี่ยวไม่ช้ำเหมือนการดองด้วยเกลือละลายน้ำสะอาดและไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป

                                                                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                                  1.สามารถนำไปแก้ไขปัญหาการพบสารเคมีในของดองในชีวิตประจำวันได้
                                  2. สามารถนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาเผยแพร่ให้ผู้คนได้รู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

                                                  

                        โครงงานอาชีพ

                        โครงงานการงานอาชีพ 
                        เรื่อง 
                        เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส


                        คณะผู้จัดทำโครงงาน
                        ๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๒
                        ๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๕
                        ๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต           ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๗
                        ๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๒
                        ๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๗
                        ๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง     ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๓
                        ๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๒๔
                        ๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑๔
                        ๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช         ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๔
                        ๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต        ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑

                        คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
                        นาย จำรัส        เจริญนนท์
                        โรงเรียนบ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม

                        รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานการงานอาชีพ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                        ประเภทโครงงานสำรวจการเรียนรู้การงานอาชีพ  รหัสวิชา ง ๓๒๑๐๑



                        หัวข้อโครงงาน            เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
                        ผู้จัดทำ                       
                        ๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา      
                        ๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช        
                        ๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต         
                        ๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา      
                        ๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ       
                        ๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง  
                        ๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์      
                        ๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ 
                        ๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช       
                        ๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต
                        ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน  นาย จำรัส    เจริญนนท์
                        โรงเรียน                     บ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม
                        ปีการศึกษา                 ๒๕๕๒

                        บทคัดย่อ
                                    โครงงานการงานอาชีพเรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต  และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน  จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่ปลูกพืชผักสวนครัว  คณะผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆแล้ว  ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  มีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน
                        ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่ามีเกษตรต่าง ๆหลายประเภททั้งจากอินเทอร์เน็ตและจากการสัมภาษณ์ชุมชนใกล้เคียง  เช่น  ผักกาด ผักหอม  เป็นต้น  เราสามารถนำมาปลูกและประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้
                        โดยสรุป  โครงงานเรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาใช้เพื่ออาหาร  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่  ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง   เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                              

                        กิตติกรรมประกาศ
                                    การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ  ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  คุณครู  จำรัส      เจริญนนท์  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
                                    ขอขอบพระคุณผู้ผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะครูโรงเรียนบ้านโสกแดง  ที่อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล
                                    ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา
                                    ขอขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา  ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ
                                    คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา  มารดาบูรพาจารย์  และผู้มีพระคุณทุกท่าน
                                                                                                                                                           
                                                                                                                                    คณะผู้จัดทำ

                          
                        บทที่  ๑
                        บทนำ

                        ที่มาและความสำคัญ
                                    เนื่องด้วยคณะผู้ศึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  มีแนวความคิดจัดทำโครงงานการงานอาชีพ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  อยากมีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อที่จะได้ออก  สัมภาษณ์  ลงมือปฏิบัติจริง  และได้ศึกษาค้นค้าหาความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส ด้วยตนเอง  และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  บ้านโสกแดง  บ้านโนนสะพัง  และมีควาเชี่ยวชาญเรื่องเกษตรต่าง  ๆ  มาก ๆ  และมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสอบเรื่องเกษตร  ได้ผลสัมฤทธิ์ ในระดับดี ในภาคเรียนต่อ  ๆมา

                                    วิชาการงานอาชีพทุกคนต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  การศึกษาโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  พระราชดำรัส  จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต้องการรู้จักเรื่องเกษตรต่าง  ๆ ของพืชผักต่าง ๆ
                        เช่น ผักกาด  ผักหอม  เป็นต้น  ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มาก

                                    จากข้อความดังกล่าว  คณะผู้ศึกษาจึงทำโครงงาน  เรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส ขึ้น

                        วัตถุประสงค์
                        ๑.     เพื่อศึกษา สัมภาษณ์  เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  จากชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจาอินเทอร์เน็ต
                        ๒.   เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ มีความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
                        ๓.    เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง
                        สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
                                    คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัสมากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง

                        ความมุ่งหมายของการศึกษา
                                    เพื่อรวบรวมข้อมูล  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จัดทำขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ

                        ความสำคัญของการศึกษา
                                    ทำให้ทราบเรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตาแนวพระราชดำรัส  รู้เรื่องเกษตรต่าง  ๆ มากมาย

                        ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
                                    การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม

                        นิยามศัพท์เฉพาะ
                                    เกษตร  หมายถึง  ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่  เช่น  พุทธเกษตร
                                    พอเพียง  หมายถึง  ได้เท่าที่กะไว้  เช่น  ได้เท่านี้ก็พอแล้ว
                                    พระราชดำรัส  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                    ศึกษา  หมายถึง  การเล่าเรียน ,  ฝึกฝน , และอบรม
                                    ค้นคว้า  หมายถึง  ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ,  เสาะหาเอามา
                                   
                        บทที่  ๒
                        เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                        เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
                                    การศึกษาครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน  ดังหัวข้อต่อไปนี้

                        เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                        อินเทอร์เน็ต  http://www.goole/. COM   ได้แก่  ได้รู้จักวิธีปลูกพืชผักสวนครัวต่าง  ๆ  คือ  ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  ผักกวางตุ้ง  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกาดขาว  ผักบุ้ง

                        หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชัน ม. ๒   ได้แก่  ความรู้เพิ่มเติม  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                        ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย  ได้แก่  บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ  ที่มาและความสำคัญ  วิธีดำเนินงาน

                        หนังสือเสริมความรู้  เรื่อง  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ได้แก่  ความรู้  เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่ามีความเป็นมาแบบใด  มีแนวปฏิบัติแบบใด  ประยุกต์ได้แบบใด

                        บทที่  ๓
                        วิธีดำเนินงาน

                        วิธีดำเนินงาน


                        ลำดับขั้นตอนการศึกษาระยะเวลาดำเนินการ
                        ๑.กำหนดปัญหา๑๐  พ.ย  ๕๒
                        ๒.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๑๑  พ.ย  ๕๒
                        ๓.รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ  สัมภาษณ์  ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  เป็นต้น๑๓  พ.ย  ๕๒
                        ๔.ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต๑๕  พ.ย  ๕๒
                        ๕.รวบรวมข้อมูลที่ได้๑๖  พ.ย   ๕๒
                        ๖.จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น  เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้น ม. ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง๑๗  พ.ย  ๕๒
                        ๗.ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครง๑๙  พ.ย  ๕๒
                        ๘.นำความรู้ที่ได้มา  จัดทำขึ้นผังโครงงาน๒๒  พ.ย  ๕๒
                        ๙.ฝึกซ้อมการนำเสนอโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๒๓  พ.ย  ๕๒
                        ๑๐.นำเสนอโครงงาน๓๐  พ.ย  ๕๒


                        บทที่  ๔
                        ผลการศึกษาค้นคว้า

                        ผลการศึกษาค้นคว้า
                                    ผลการศึกษาค้นคว้า  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จากการ  สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจากอินเทอร์เน็ต  ปรากฏการศึกษา  ดังต่อไปนี้

                        บทที่  ๕
                        สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ

                                    การศึกษาโครงงาน  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  สรุปผลได้
                        ดังนี้

                        สรุปผล
                                    จากการศึกษาและสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้ศึกษาพืชผักต่าง  ๆ  จำนวน  ๙  ชนิด  คือ ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกวางตุ้งผักบุ้ง  ผักกาดขาว  ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  และอื่น  ๆ  ผู้ศึกษาจึงได้นำผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  อ.แกดำ  จ.มหาสารคาม  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ ทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ได้ผลสัมฤทธิ์ในระดับดี

                        อภิปรายผล 
                                    จากการศึกษา  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ทำให้รู้ถึง  ลักษณะการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  มีดังนี้
                        ๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาด
                        ๒.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักหอม
                        ๓.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักซี
                        ๔.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักคะน้า
                        ๕.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก พริก
                        ๖.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  กะหล่ำปลี
                        ๗.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกวางตุ้ง
                        ๘.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาดขาว
                        ๙.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  ผักบุ้ง

                        ประโยชน์ที่ได้รับ
                        ๑.     รู้และเข้าใจ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
                        ๒.   ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
                        ๓.    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดทำโครงงานนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน  และที่โรงเรียน
                        ๔.    ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
                        ๕.    ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                        ข้อเสนอแนะ
                        ๑.     ในโอกาสต่อไปอยากออกเผยแพร่ทั่ว  ตำบลโนนภิบาล
                        ๒.   อยากทำแผ่นพับออกเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด
                        ๓.    อยากนำความรู้ที่ได้มาทำเป็นกิจการขนาดใหญ่  และนำผักปลอดสารพิษออกขายในท้องตลาด

                        เศรษฐกิจพอเพียง

                        เศรษฐกิจพอเพียง

                        ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
                        สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
                        แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
                        สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

                        พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

                        “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
                        “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
                        “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
                        พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                                                ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                                           ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
                                           แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
                                                “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
                        เศรษฐกิจพอเพียง
                        “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
                        ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                        เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                                           ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
                        ๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                        ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
                        ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                                                โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
                        ๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
                        ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


                        พระราชดำรัสที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
                        “...เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับรถไถ เวลารถไถเก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควันเราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคายออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙
                                                “...เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔
                                                “...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ในทางดี ที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ ก็เห็นว่าประเทศไทย เรานี่ก้าวหน้าดี การเงินการอุตสาหกรรมการค้าดี มีกำไร อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่าเรากำลังเสื่อมลงไปส่วนใหญ่ ทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินเท่านั้นๆ มีการกู้เท่านั้นๆ หมายความว่าเศรษฐกิจก้าวหน้า แล้วก็ประเทศก็เจริญมีหวังว่าจะเป็นมหาอำนาจ ขอโทษเลยต้องเตือนเขาว่า จริงตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวังในความต้องการพื้นฐานของประชาชนนั้นไม่มีทาง...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖
                        “...เดี๋ยวนี้ประเทศไทยก็ยังอยู่ดีพอสมควร ใช้คำว่า พอสมควร เพราะเดี๋ยวมีคนเห็นว่ามีคนจน คนเดือดร้อน จำนวนมากพอสมควร แต่ใช้คำว่า พอสมควรนี้ หมายความว่าตามอัตตภาพ...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
                                                “...ที่เป็นห่วงนั้น เพราะแม้ในเวลา ๒ ปี ที่เป็นปีกาญจนาภิเษกก็ได้เห็นสิ่งที่ทำให้เห็นได้ว่า ประชาชนยังมีความเดือดร้อนมาก และมีสิ่งที่ควรจะแก้ไขและดำเนินการต่อไปทุกด้าน มีภัยจากธรรมชาติกระหน่ำ ภัยธรรมชาตินี้เราคงสามารถที่จะบรรเทาได้หรือแก้ไขได้ เพียงแต่ว่าต้องใช้เวลาพอใช้ มีภัยที่มาจากจิตใจของคน ซึ่งก็แก้ไขได้เหมือนกัน แต่ว่ายากกว่าภัยธรรมชาติ ธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งนอกกายเรา แต่นิสัยใจคอของคนเป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน อันนี้ก็เป็นข้อหนึ่งที่อยากให้จัดการให้มีความเรียบร้อย แต่ก็ไม่หมดหวัง...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
                                                “...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙.
                                                “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
                        “...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
                                                “...ไฟดับถ้ามีความจำเป็น หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ เรามีเครื่องปั่นไฟก็ใช้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกัน แลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
                                                “...โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน...”
                        พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
                                                “...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...”
                        พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
                        ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔

                        ย้อนกลับด้านบน

                        ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง
                        เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                        เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้
                                                เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้  เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
                        เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
                        โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม


                        การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง
                        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
                        แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
                        ๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
                        ๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
                        ๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
                        ๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
                        ๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

                        เกษตรทฤษฎีใหม่

                        ทฤษฎีใหม่
                        ทฤษฎีใหม่
                        คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
                                           ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย
                        ๑. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร
                        ๒. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
                        ๓. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง
                        ๔. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด
                        ๕. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต
                        - ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช
                        - ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน
                        - ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน
                        ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                        ย้อนกลับด้านบน


                        ทฤษฎีใหม่
                                    ความสำคัญของทฤษฎีใหม่
                        ๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
                        ๒. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
                        ๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน

                        ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
                                                ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง
                                                พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
                                                พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
                                                พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
                                                พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ
                                    ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
                                                เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
                                                (๑) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
                                                - เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก
                                                (๒) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
                                                - เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
                                                (๓) การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
                                                - ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
                                                (๔) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
                                                - แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
                                                (๕) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
                                                - ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชมชนเอง
                                                (๖) สังคมและศาสนา
                                                - ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
                                                โดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

                        ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
                                                เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
                                                ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
                                                - เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
                                                - ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
                                                - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)
                                                - ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น

                        ย้อนกลับด้านบน

                                    หลักการและแนวทางสำคัญ

                        ๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วย
                        ๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
                        ๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
                        ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ ๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลง ประกอบด้วย
                                                - นาข้าว ๕ ไร่
                                                - พืชไร่ พืชสวน ๕ ไร่
                                                - สระน้ำ ๓ ไร่ ขุดลึก ๔ เมตร จุน้ำได้ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
                                                - ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่
                                                รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่
                                                แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
                                                - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
                                                - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึก หรือตื้น และแคบ หรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อยๆ
                                                การมีสระเก็บน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดี มีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อจะได้มีผลผลิตอื่นๆ ไว้บริโภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดทั้งปี
                                                ๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ เป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
                                                            ร้อยละ ๓๐ ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) บนสระอาจสร้างเล้าไก่และบนขอบสระน้ำอาจปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ใช้น้ำมากโดยรอบได้
                                                            ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สอง ทำนา
                                                            ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
                                                            ร้อยละ ๑๐ สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

                        อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อ หรือสระเก็บน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโชน์อื่นต่อไปได้
                                                ๕. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น เกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย และที่สำคัญ คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดสระน้ำ เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากส่วนราชการ มูลนิธิ และเอกชน
                                                ๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดี ควรนำไปกองไว้ต่างหากเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี หรืออาจนำมาถมทำขอบสระน้ำ หรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผลก็จะได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง
                                    ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง
                        ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ฯลฯ
                        ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
                        เห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
                        สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไท บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
                        ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
                        พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง
                        พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
                        หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ผลแทน เป็นต้น

                        สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่
                                                สัตว์น้ำ : ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
                                                สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้
                                    ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
                        ๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
                        ๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
                        ๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
                        ๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

                        ย้อนกลับด้านบน

                                    ทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์                  

                        ทฤษฎีใหม่ที่ดำเนินการโดยอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำฝน จะอยู่ในลักษณะ “หมิ่นเหม่” เพราะหากปีใดฝนน้อย น้ำอาจจะไม่เพียงพอ ฉะนั้น การที่จะทำให้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องมีสระเก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ โดยการมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเพิ่มเติมน้ำในสระเก็บกักน้ำให้เต็มอยู่เสมอ ดังเช่น กรณีของการทดลองที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี
                        ระบบทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์
                        อ่างใหญ่ เติมอ่างเล็ก อ่างเล็ก เติมสระน้ำ
                                             
                                                จากภาพ วงกลมเล็ก คือสระน้ำที่เกษตรกรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่ เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เกษตรกรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และหากน้ำในสระน้ำไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อทางท่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี
                        กรณีที่เกษตรกรใช้น้ำกันมาก อ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้วิธีการผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (อ่างใหญ่) ต่อลงมายังอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำมาเติมในสระของเกษตรกรพอตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องเสี่ยง
                        ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถทำให้การใช้น้ำมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด จากระบบส่งท่อเปิดผ่านไปตามแปลงไร่นาต่างๆ ถึง ๓-๕ เท่า เพราะยามหน้าฝน นอกจากจะมีน้ำในอ่างเก็บน้ำแล้ว ยังมีน้ำในสระของราษฎรเก็บไว้พร้อมกันด้วย ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มอย่างมหาศาล น้ำในอ่างที่ต่อมาสู่สระจะทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำสำรอง คอยเติมเท่านั้นเอง

                        ย้อนกลับด้านบน

                        แปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ของมูลนิธิชัยพัฒนา

                        ท่านที่สนใจสามารถขอคำปรึกษาและเยี่ยมชมแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้
                        ๑. สำนักบริหารโครงการ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
                        โทรศัพท์ ๐ ๒๒๘๒ ๔๔๒๕  โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๓๓๔๑
                        ๒. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี
                        โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๓๖๔๙ ๙๑๘๑
                        ๓. โครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ (ทฤษฎีใหม่) อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
                        โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๓๒๓๓ ๗๔๐๗
                        ๔. โครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
                        โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๓๒๕๙ ๔๐๖๗
                        ๕. โครงการสาธิตทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
                        โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๔๓๘๕ ๙๐๘๙
                        ๖.โครงการสาธิตทฤษฎีใหม่ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
                        โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๔๔๓๒ ๕๐๔๘